การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 โดดเด่นและเปลี่ยนโฉมหน้าอย่างรวดเร็ว พร้อมกันนั้น ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ยังแพร่กระจายไปทั่วโลก ส่งผลให้การต่อสู้กับไวรัสยืดเยื้อยาวนานออกไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประเทศญี่ปุ่นจำเป็นต้องค้นหาวิถีชีวิตแบบใหม่ (New Normal) แม้จะต้องยอมแพ้บางสิ่งบางอย่าง และพบกับเรื่องเศร้าหลายประการ แต่วิถีแบบใหม่ที่เกิดขึ้นมาได้กระตุ้นให้เกิดความหลากหลาย และกลายเป็นโอกาสให้มนุษย์ทั่วโลกได้มองเห็นช่องทางการปฏิวัติอุตสาหกรรมและสังคมโดยอาจจะเริ่มจากประเด็นเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างไรก็ตาม เรามองเห็นโอกาสก้าวกระโดดอย่างยิ่งใหญ่เช่นกันในสถานการณ์ปัจจุบัน การตั้งประเด็นคำถามต่อสามัญสำนึกที่เคยมีมา การก้าวข้ามขอบเขตในอดีต และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางอุตสาหกรรมและโครงสร้างทางสังคมกลายเป็นความจำเป็นแห่งยุคสมัย และสิ่งที่จะช่วยให้พฤติกรรมเหล่านั้นเป็นจริงคือ “นวัตกรรมเชิงพลิกผัน (Disruptive Innovation)
ก่อนอื่น เราจำเป็นต้องสร้างสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในการท้าทายเพื่อหว่านต้นกล้าไอเดีย "แปลกแหวกแนว" ให้เติบโตขึ้นโดยไม่หวาดกลัวความล้มเหลว และบ่มเพาะวัฒนธรรมที่พร้อมยอมรับในความหลากหลาย เพื่อให้เกิดนวัตกรรมแบบใหม่ขึ้น การวางเป้าหมายเพื่อพัฒนาสู่ระดับสากลควรเกิดขึ้นตั้งแต่ขั้นตอนแรก ไม่ใช่การก้าวไปสู่โลกกว้างหลังประสบความสำเร็จในประเทศตนเอง โลกยุคปัจจุบันต้องการ “ทักษะการค้นพบประเด็นปัญหาที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน” ยิ่งกว่า “ทักษะการค้นหาความถูกต้องเดิม ๆ” ที่สามารถใช้ปัญญาประดิษฐ์มาแทนที่ได้แล้ว และการค้นพบดังกล่าวย่อมนำไปสู่ “การสร้างสรรค์สิ่งใหม่จากก้าวแรกโดยเริ่มจาก 0" กระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสารเริ่มต้นโครงการ INNOvation บ้า - กล้า - คิด ขึ้นในปี 2014 เพื่อสนับสนุนผู้มีความคิดสร้างสรรค์ที่มาพร้อมความมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวที่จะพัฒนา เปลี่ยนแปลง และต่อยอด ภายใต้เป้าหมายที่ต้องการบ่มเพาะบรรยากาศแห่งการท้าทายให้เกิดขึ้น
เรายินดีต้อนรับความท้าทายรูปแบบใหม่ท่ามกลางยุคสมัยที่วิถีชีวิตแบบใหม่กำลังเริ่มต้นขึ้น กระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสารจะไม่หยุดท้าทายเพื่อคิดหารูปแบบการสนับสนุนในสาขา ICT ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการปฏิวัติไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว มาร่วมท้าทายสิ่งใหม่เพื่อวางรากฐานสู่อนาคตของประเทศญี่ปุ่นไปด้วยกันนะครับ/ค่ะ
* ICT ย่อมาจาก Information and Communication Technology เป็นคำศัพท์เฉพาะซึ่งใช้ในความหมายว่า “เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร”
* โครงการนี้ ถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ. 2014 ตามความเห็นของคณะที่ปรึกษาในการประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องสารสนเทศและการสื่อสารภายใต้หัวข้อ “มาตรการเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม” (เริ่มยื่นคำถาม: 5 กรกฎาคม 2013 สิ้นสุดการรายงาน: 27 มิถุนายน 2014) ในฐานะกลยุทธ์การเจริญเติบโตของ ICT หลังจากนั้น โครงการได้เกิดกระบวนการพัฒนาเป็นรายปี จนเข้าสู่กระบวนการติดตามผลกลยุทธ์การเจริญเติบโตในปี 2019 (คณะรัฐมนตรีลงมติในวันที่ 21 มิถุนายน 2019) นำไปสู่การประกาศนโยบายมุ่งสู่ความเป็นเลิศด้าน IT ระดับโลกและจัดทำแผนพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการใช้งานข้อมูลภาครัฐและภาคเอกชน (คณะรัฐมนตรีลงมติในวันที่ 14 มิถุนายน 2019)
บุคลากรชั้นนำในแวดวง ICT และสาขาอื่น ๆ รวม 9 ท่านจะเป็นผู้ประเมินผลในสาขา Disruptive Challenge
CEO, MODE, Inc. สหรัฐอเมริกา
อดีตประธานบริหาร Guinness World Records Japan
บัณฑิตวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวาเซดะ
ศาสตราจารย์ ภาควิชาระบบไฟฟ้ากายภาพ
ผู้จัดการทั่วไป TikTok Japan
ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลทาคาสุ
ผู้อำนวยการ ทาคาสุคลินิก
CEO, ROBO GARAGE Co., Ltd.
บัณฑิตวิทยาลัยสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเกียวโต
ศาสตราจารย์ สาขาวิชาระบบสารสนเทศและการสื่อสาร
บริษัท Trip Advisor LLC
ประธานกรรมการบริหาร
Ruby Association
ประธาน
ผู้บุกเบิกนวัตกรรมในแต่ละสาขารวม 5 ท่านจะเป็นผู้ให้คำแนะนำในภาพรวมเพื่อเสริมประสิทธิภาพของโครงการ INNOvation บ้า - กล้า - คิด
ผู้ก่อตั้งและ CEO จาก Quora
อดีต CTO จาก Facebook
นักลงทุน
บัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียว
ศาสตราจารย์ สาขาวิศวกรรมการบินและอวกาศ
ที่ปรึกษา Scrum Ventures
ผู้ถือหุ้น First Compass Group
อดีตประธาน Evernote Japan
ผู้กำกับภาพยนตร์
รับหน้าที่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลโครงการเพื่อให้มีผู้สร้างสรรค์มาเข้าร่วมอย่างหลากหลายยิ่งขึ้น
ทางโครงการเลือกใช้โลโก้ใหม่จากลายเส้นพู่กันดุดันเข้มแข็งเพื่อส่งต่อภาพลักษณ์การแผ่ขยายเครือข่ายของโครงการให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น
ผสานเข้ากับโลโก้เดิม สื่อความหมายการสนับสนุนกิจกรรมของทุกท่านให้ต่อยอดไปอีกขั้น
ร่วมออกแบบโลโก้: จิตรกรเขียนอักษรพู่กัน อาจารย์เคอุ อิชิคาวะ
<ผลงานที่ผ่านมา>
・ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมนิทรรศการ ไมนิจิ โชโด ในปี 2019
・ได้รับรางวัลจากการจัดแสดงนิทรรศการเดี่ยวในปี 2019
・สร้างสรรค์ผลงาน SHIRANAMI ประกอบละครเพลง โดยสถานีฟูจิทีวี ในปี 2019
・ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมนิทรรศการเดี่ยวในปี 2019
・ได้รับรางวัลจากการจัดแสดงนิทรรศการเดี่ยวในปี 2018
・ได้รับคัดเลือกเป็นพิเศษจากการจัดแสดงนิทรรศการเดี่ยวในปี 2018
・ผลงานได้รับเลือกให้ใช้เป็นโลโก้ "สาขา Disruptive Challenge" และ "สาขา Generation Award" โดยกระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสาร ในปี 2017
・ได้รับรางวัลเกียรติยศจากนิทรรศการ ฟุจิเก็นได ในปี 2017
・ได้รับรางวัลผลงานดีเด่นจากนิทรรศการ โจบุงโชเท็น ในปี 2017
・ได้รับรางวัลพิเศษจากหนังสือพิมพ์โยมิอุริ ในนิทรรศการของ The Japan Calligraphy Education Society ปี 2017
・ผลงานได้รับเลือกให้ใช้เป็นโลโก้โครงการ INNOvation บ้า - กล้า - คิด โดยกระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสาร ในปี 2016
・ผลงานได้รับเลือกให้ใช้เป็นโลโก้ผลิตภัณฑ์ Delmonte Winery โนะ ชิสุกุ ของบริษัทคิคโคแมน ในปี 2016
・ได้รับรางวัลพิเศษจากหนังสือพิมพ์โยมิอุริ ในนิทรรศการของ The Japan Calligraphy Education Society ปี 2016
・ได้รับรางวัลผลงานดีเด่นจากนิทรรศการ ฟุจิเก็นได ในปี 2015
นอกจากนี้ ยังเคยได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมนิทรรศการเทศกาลศิลปะจังหวัดโทจิกิ, นิทรรศการไมนิจิโชโด, นิทรรศการของ The Japan Calligraphy Education Society และนิทรรศการฟุจิเก็นได อีกหลายครั้ง